วันนี้เราไปเที่ยวไหว้พระใกล้ๆ กรุงเทพ กันที่ อยุธยา กันหน่อยดีกว่า เตรียมตัวให้พร้อมแล้วตามมาที่ วัดพุทไธศวรรย์ กันได้เลยครับ ที่นี่เป็นวัดริมแม่น้ำเจ้าพระยาสวย ๆ ที่ยังคงความสมบูรณ์และงดงามเป็นอย่างมาก ลองขับรถมาเที่ยวอยุธยา และชม วัดสวยอยุธยา แห่งนี้ไปพร้อมๆ กันเลยครับ
วัดพุทไธศวรรย์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ประวัติและความเป็นมา
วัดพุทไธศวรรย เป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ ที่มีขนาดใหญ่และมีชื่อเสียงอย่างมาก ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ในตำบลสำเภาล่ม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดอยุธยา ในสมัยกรุงศรีอยุธยา วัดนี้มีตำนานเล่าว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ได้ทรงสร้างขึ้นในบริเวณที่เป็นที่ตั้งพลับพลา ซึ่งพระองค์ประทับเมื่ออพยพมายังพื้นที่นี้ ก่อนที่จะมีการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
ในพระราชพงศาวดารมีการบันทึกชื่อของตำบลเวียงเล็ก หรือเวียงเหล็ก ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่กรุงศรีอยุธยาได้ถูกสถาปนาขึ้น โดยพระมหากษัตริย์ได้มีพระราชดำริให้สร้างวัดนี้ขึ้นเพื่อเป็นพระราชอนุสรณ์ และต่อมา พระมหากษัตริย์ในยุคถัดๆ ก็ยังคงมีพระราชประสงค์ให้สร้างถาวรวัตถุเพิ่มเติมอีกหลายอย่าง หลังจากที่กรุงศรีอยุธาถูกทำลายในปี พ.ศ. 2310 วัดพุทไธศวรรย์ก็เป็นอีกแห่งหนึ่งที่ไม่ได้ถูกทำลายโดยพม่า ปัจจุบันยังคงมีซากโบราณสถานที่หลงเหลืออยู่หลายแห่ง เช่น พระปรางค์องค์ใหญ่ พระอุโบสถ พระวิหาร พระวิหารพระนอน และตำหนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
ความน่าสนใจของวัด
พระมหาธาตุ (ปรางค์ประธาน)
องค์พระปรางค์ซึ่งเป็นประธานของวัด ตั้งอยู่หันหน้าไปทางทิศตะวันออก และตั้งอยู่บนฐานไฟที่รองรับไปถึงมณฑปอีก 2 หลังที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือและทิศใต้ โดยทั่วไปแล้วลักษณะของพระปรางค์ได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมของปราสาทขอม เปรียบเสมือนเขาพระสุเมรุหรือเขาไกรลาสที่เป็นที่ประทับของเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ในการสร้างปราสาทตามคติของขอม จะมีการจำลองตัวอาคารหรือเรือนธาตุซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ขึ้นไปตามลำดับ ซึ่งเปรียบเสมือนวิมานของเทพเจ้า และมีเทพผู้รักษาทิศประจำอยู่ครบทุกด้าน โดยภายในพระปรางค์ประธานนี้มีห้องพระครรภธาตุ ซึ่งบรรจุพระเจดีย์ทรงปราสาทยอดที่มีพระบรมสารีริกธาตุอยู่ภายใน
พระอุโบสถ
ทางด้านตะวันตกของปรางค์ประธาน มีอาคารก่ออิฐถือปูนขนาดยาว 32 เมตร และกว้าง 14 เมตร ภายในอาคารมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ 3 องค์ตั้งอยู่บนฐานชุกชี ซึ่งได้รับการปฏิสังขรณ์ด้วยการลงรักปิดทองใหม่ แม้ว่ารูปแบบของประติมากรรมจะไม่ชัดเจนว่าเป็นศิลปกรรมในสมัยอยุธยาตอนต้น แต่ลักษณะของฐานพระพุทธรูปที่ทำเป็นบัวคว่ำบัวหงายบนฐานเขียงที่ไม่สูง อาจบ่งบอกว่าพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์นี้มีอายุย้อนกลับไปถึงสมัยอยุธยาตอนกลาง ประมาณพุทธศตวรรษที่ 20-21 นอกจากนี้ รอบพระอุโบสถยังมีใบเสมาหินชนวนขนาดใหญ่และหนา จำนวน 8 คู่ หรือ 16 ใบ ตั้งอยู่ในทุกทิศทางอีกด้วย
ภายในอุโบสถมีการประดิษฐาน “หลวงพ่อดำ” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นสีดำในปางมารวิชัย มีลักษณะศิลปะแบบอยุธยาตอนต้น ในอดีตผู้ที่เจ็บป่วยมักมาขอพรจากหลวงพ่อดำเพื่อให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บ หรือหากต้องการบุตรก็มักมาขอให้ได้บุตร นอกจากนี้ผู้ที่ต้องการสอบเข้าทหารตำรวจ หรือมีความปรารถนาจะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานก็จะมาทำการไหว้ หากได้ผลตามที่หวังมักจะนำดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมมาถวายเป็นการขอบคุณ
วิหารพระพุทไธศวรรย์
ตั้งอยู่ทางทิศใต้ในเขตพุทธาวาส พระวิหารมีลักษณะคล้ายท้องเรือสำเภาเล็กน้อย โดยมีหน้าต่างสี่เหลี่ยมเจาะอยู่ด้านยาวฝั่งละ 3 ช่อง และมีประตูทางเข้า 1 ช่อง ส่วนเครื่องบนหลังคานั้นได้พังทลายไปหมดแล้ว เหลือเพียงผนังและกรอบหน้าต่างบางส่วนเท่านั้น องค์พระพุทธไสยาสน์หันพระเศียรไปทางทิศตะวันตก ซึ่งตรงกับช่องประตูทางเข้าพอดี
องค์พระพุทธไสยาสน์นี้สร้างขึ้นจากอิฐและปูน มีลักษณะพิเศษที่โดดเด่น คือ เป็นหนึ่งในพระพุทธไสยาสน์ของอยุธยาเพียงไม่กี่องค์ที่มีการวางพระบาทเหลื่อม ซึ่งเป็นลักษณะเบื้องต้นที่ช่วยให้พุทธลักษณะดูคล้ายกับคนธรรมดา นอกจากนี้ พระพาหาและพระกรที่พับวางราบอยู่ด้านหน้าในลักษณะหงายพระหัตถ์เพื่อรองรับพระเศียรนั้น เป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมมาตั้งแต่สมัยทวารวดี ลพบุรี และอู่ทอง ซึ่งแตกต่างจากพระนอนที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัยที่พบในเขตเกาะเมืองอยุธยา ดังนั้นจึงถือว่าเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจในการศึกษาพุทธศิลป์ในสมัยอยุธยา หากผู้ใดได้มาสักการะ จะได้รับความเมตตามหานิยมและความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
ข้อมูล ของ วัดพุทไธศวรร อยุธยา
- สถานที่ตั้ง : ตำบลสำเภาล่ม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- เปิดให้เข้าชม : ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 น. – 17.00 น.
ต้องยกให้เป็นอีกหนึ่งวัดที่น่าไปมากๆ เลยครับ กับ วัดพุทไธศวรรย์ แห่งนี้ เพราะที่นี่มีทั้งความสวยงามอันเก่าแก่ รวมถึงประวัติศาสตร์ที่น่าศึกษาและน่าค้นหาอยู่ไม่ด้วยด้วยเช่นกัน ใครมีโอกาสได้มาไหว้พระอยุธยา อย่าลืมเพิ่มวัดนี้ลงไปในลิสต์กันด้วยนะครับ รับรองว่าไม่ผิดหวังอย่างแน่นอน สำหรับวันนี้ เว็บหวยสด คงต้องขอตัวลากันไปก่อน บทความหน้าเราจะพาไปเที่ยวไหว้พระที่ไหน รอติดตามชมกันได้เลย สวัสดีครับ